http://library.sk.ac.th >>    Thursday, 25 April 2024
หน้าแรก arrow ข่าวสาร

มีอะไรในห้องสมุด
ข้อมูลห้องสมุด
นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ประวัติห้องสมุด
สถานที่
บริการทั่วไป
กิจกรรม
สาระน่ารู้
วันสำคัญ
สมานมิตร
รางวัลซีไรต์
นักเขียนซีไรต์
สิ่งพิมพ์ออนไลน์
e-newspaper
e-journal
e-book
กฤคภาคข่าว
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (TIAC)
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์(Thailis)
ทำเนีบยนิตยสารประเทศไทย
ข่าวสาร
สกอ.เปิดคะแนนสูง/ต่ำวิชาเฉพาะปี 2550 PDF พิมพ์ ส่งเมล
  •        นางศศิธร อหิงสโก ผอ.สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.กลุ่มรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ผลคะแนนสอบวิชาเฉพาะ เดือนตุลาคมประจำปี 2550 ในแต่ละวิชาเป็นดังนี้
    วิชาความถนัดทางวิศวกรรม มีผู้เข้าสอบ 52,552 คน คะแนนต่ำสุด 2.00 คะแนนสูงสูด 85.00 คะแนนค่าเฉลี่ย 28.24
  • ความถนัดทางสถาปัตยกรรม เข้าสอบ 10,935 คน ต่ำสุด 3.00 สูงสุด 94.00 ค่าเฉลี่ย 34.90
  • ความถนัดทางวิชาชีพครู เข้าสอบ 93,936 คน ต่ำสุด 1.00 สูงสุด 84.00 ค่าเฉลี่ย 42.93
  • ความรู้ความถนัดทางศิลป์ เข้าสอบ 2,059 คน ต่ำสุด 14.00 สูงสุด 77.00 ค่าเฉลี่ย 41.49
  • ทฤษฎีทัศนศิลป์ เข้าสอบ 1,457 คน ต่ำสุด 11.00 สูงสุด 83.00 ค่าเฉลี่ย 23.83
  • วิชาปฏิบัติทัศนศิลป์  เข้าสอบ 1,396 คน ต่ำสุด 0.00 สูงสุด 80.00 ค่าเฉลี่ย 23.83
  • ทฤษฎีนฤมิตศิลป์ เข้าสอบ 1,653 คน ต่ำสุด 25.00 สูงสุด 78.00 ค่าเฉลี่ย 46.34
  • ปฏิบัตินฤมิตศิลป์ เข้าสอบ 1,594 คน ต่ำสุด 0.00 สูงสุด 84.00 ค่าเฉลี่ย 38.17
  • วาดเส้น เข้าสอบ 2,746 คน ต่ำสุด 0.00 สูงสุด 85.00 ค่าเฉลี่ย 23.86
  • องค์ประกอบศิลป์ เข้าสอบ 2,229 คน  ต่ำสุด 0.00 สูงสุด 98.00 ค่าเฉลี่ย 22.73  และ
  • ความถนัดนิเทศศิลป์ เข้าสอบ 4,127 คน ต่ำสุด 0.00 สูงสุด 100.00 และค่าเฉลี่ย 14.54

         ด้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สทศ. ได้ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและนักวัดผล เพื่อสร้างข้อสอบมาตรฐาน ดังนี้ แบบทดสอบความรู้ขั้นพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ 4 ช่วงชั้น     (ป.3, ป.6, ม.3, ม.6) แบบทดสอบความรู้ขั้นลึกซึ้ง เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหา 8 กลุ่มสาระ 4 ช่วงชั้น  แบบทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ แบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์บางประการที่สำคัญ 4 ช่วงชั้น และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ 4 ช่วงชั้น โดยคาดว่าจะเริ่มสร้างข้อสอบได้ในเดือนธันวาคม 2549.

จาก หนังสือพิมพิ์ เดลินิวส์  วันที่ 22 พฤศจิกายน 2549

"วิจิตร"ไฟเขียวนำผลโอเน็ตรวมผลประเมินม.ปลายก่อนจบ PDF พิมพ์ ส่งเมล
รมว.ศึกษาฯ เผยผลหารือกับบอร์ด สทศ. เห็นตรงกันปรับนำผลสอบโอเน็ตทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ไปรวมกับผลสอบประเมินของโรงเรียน เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก ม.ปลายก่อนจบการศึกษา โดยให้น้ำหนักถ่วงดุลกัน
(29 พ.ย.)   ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังให้นโยบายการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ว่า ตนได้หารือว่า สทศ.ไม่ควรคิดว่าจะจัดทดสอบเพื่อตอบสนองการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เพราะการทดสอบมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ทางการศึกษา จึงควรจะตอบสนองได้ทั้งหมด เช่น ถ้าจะมีการทดสอบตามช่วงชั้นของการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อต้องการทราบผลการจัดการศึกษาว่าเป็นอย่างไร เพราะหากโรงเรียนจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของเด็กเอง อาจเกิดความไม่เชื่อถือได้ ดังนั้น ถ้ามีหน่วยมาตรฐานกลางมาวัดแล้วบอกผลว่าคุณภาพแต่ละวิชาเป็นอย่างไร คนจะเชื่อถือ

ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า ที่ประชุมจึงคุยกันถึงการสอบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) โดยเห็นว่าการสอบโอเน็ตแท้จริงแล้วเป็นการสอบเพื่อวัดผลระดับมัธยมปลาย ประโยชน์ของผลการสอบน่าจะสะท้อนผลการจัดการศึกษามัธยมปลาย จึงคิดกันว่าถ้าเป็นเช่นนี้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่โรงเรียนจัดสอบอยู่แล้วทุกปี แล้วเอาผลมาสะสมเป็นคะแนนเฉลี่ยสะสมมัธยมปลาย (จีพีเอ) จึงควรจะนำผลสอบโอเน็ตที่จัดสอบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ถ่วงน้ำหนักเข้าไปด้วย จะเอากี่เปอร์เซ็นต์ก็ได้ แล้วถือว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กมี 2 ส่วน คือที่โรงเรียนจัดสอบเองและส่วนที่เป็นการทดสอบกลางแล้วรายงานผลออกมาตรงนี้เอาไปใช้ประกอบเข้ามหาวิทยาลัยได้โดยไม่ต้องแยกสอบโอเน็ตและเอเน็ตอีกต่อไป

“ถ้ามหาวิทยาลัยใดต้องการสอบเพิ่มเติมก็ไปสอบเฉพาะที่เพิ่มเติม ผลการเรียนก็จะออกมาในรูปของจีพีเอ บวกกับผลโอเน็ต รายละเอียดการดำเนินการจะมีการคุยกันต่อ แต่ทุกคนเห็นด้วยว่าถ้าทำแบบนี้แล้วเด็กทุกคนจะเข้าสอบโอเน็ต ขณะนี้เด็กบางคนไม่ได้สอบและไม่ได้ออกทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จึงไม่ได้สะท้อนอะไร แต่โอเน็ตที่ทำตอนนี้ทำเพื่อเอาผลไปเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่าที่จะสอบเพื่อสะท้อนผลการจัดการศึกษามัธยม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว

ศ.ดร.วิจิตร กล่าวว่า สำหรับผลดังกล่าวยังไม่ได้นำไปใช้ในปีการศึกษา 2549 แต่ต้องนำไปออกแบบก่อน และทำเร็วเกินไปอาจผิดพลาด ถ้าทำได้เร็วอาจทำได้ในปี 2551 แต่หลักการสามารถแก้ปัญหาได้เกือบทุกเรื่องมีความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น ช่วยเรื่องมาตรฐานของโรงเรียนเพราะจะมีหน่วยมาตรฐานกลางเข้าไปถวงน้ำหนัก สำหรับตุ๊กตาที่เป็นไปได้อาจจะเป็นสัดส่วนผลการสอบของโรงเรียนร้อยละ 60 และผลโอเน็ตร้อยละ 40 แล้วในอนาคตก็จะพัฒนาไปสู่สัดส่วนร้อยละ 50:50 ทั้งนี้ การจัดสอบจะไม่ทำให้เกิดการกวดวิชา เพราะไม่ได้เอาผลสอบโอเน็ตมาใช้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่นำมาเสริมให้การประเมินของโรงเรียนมีมาตรฐานดีขึ้นและแก้ปัญหาโรงเรียนมาตรฐานต่างกัน เพราะเป็นข้อสอบเดียวกัน

ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้ขอให้ สทศ.เร่งแก้ภาพลักษณ์ที่ทำให้คนไม่เชื่อถือไม่มั่นใจในการทำงานของ สทศ.ที่เคยเกิดปัญหาการสอบโอเน็ตและเอเน็ตในปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้อำนวยการ สทศ.บอกว่ามีนโยบายนี้อยู่แล้วและเห็นด้วยต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากคนไม่เชื่อถือก็ทำงานไม่ได้

แหล่งที่มา : "วิจิตร"ไฟเขียวนำผลโอเน็ตรวมผลประเมินม.ปลายก่อนจบ"  หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก  วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

100 เล่มควรอ่าน(ตอนจบ) PDF พิมพ์ ส่งเมล

 ต่อจากฉบับวานนี้ หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน อีก 58 เล่ม มี ค.เรื่องสั้น 43.นิทานเวตาล-น.ม.ส. 44.จับตาย : รวมเรื่องเอก-มนัส จรรยงค์ 45.เรื่องสั้นของ ป.บูรณปกรณ์ (ชีวิตจากมุมมืด, ดาวเงิน) 46.เสาชิงช้า, เอแลนบารอง และเรื่องสั้นอื่นๆ ของ ส.ธรรมยศ 47.พลายมลิวัลลิ์ และเรื่องสั้นบางเรื่องของถนอม มหาเปารยะ 48.ผู้ดับดวงอาทิตย์ และเรื่องสั้นอื่นๆ-จันตรี ศิริบุญรอด 49.ยุคทมิฬ และเรื่องสั้นอื่นๆ ของอิศรา อมันตกุล 50.เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่-อาจินต์ ปัญจพรรค์ 51.ฟ้าบ่กั้น-ลาว คำหอม 52.ชุดเพื่อนนักเรียนเก่า เพื่อนเก่า-เสนอ อินทรสุขศรี 53.รวมเรื่องสั้นบางเรื่องของฮิวเมอร์ริสต์ 54.ฉันจึงมาหาความหมาย-วิทยากร เชียงกูล 55.คนบนต้นไม้-นิคม รายวา

ประเภทสารคดี/บทความ (NON FICTION) ก.ประวัติศาสตร์ 56.ประวัติกฎหมายไทย-ร.แลงกาต์ 57.นิทานโบราณคดี-กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 58.โฉมหน้าศักดินาไทย-จิตร ภูมิศักดิ์ 59.กบฏ ร.ศ.130-เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ 60.เจ้าชีวิต-พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ 61.ศาลไทยในอดีต-ประยุทธ สิทธิพันธ์ 62.ประวัติศาสตร์ไทยสมัย 2352-2453 ด้านสังคม-ชัย เรืองศิลป์ 63.สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ 2325-2416-ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์

ข.การเมือง, ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย, เศรษฐศาสตร์ 64.ทรัพยศาสตร์-พระยาสุริยานุวัตร 65.เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475-กุหลาบ สายประดิษฐ์ 66.ความเป็นอนิจจังของสังคม-ปรีดี พนมยงค์ 67.ท่านปรีดี รัฐบุรุษอาวุโสผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก-เดือน บุนนาค 68.โอ้ว่าอาณาประชาราษฎร-สนิท เจริญรัฐ 69.ไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง-ดิเรก ชัยนาม 70.สันติประชาธรรม-ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 71.ห้าปีปริทัศน์-ส.ศิวรักษ์ 72.วันมหาปิติ วารสาร อมธ.ฉบับพิเศษ 14 ตุลาคม 2516-องค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ค.ศิลปะ ภาษาและวรรณกรรม วรรณกรรมวิจารณ์ 73.วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์-วิทย์ ศิวะศิริยานนท์ 74.ประติมากรรมไทย-ศิลป พีระศรี 75.วรรณสาส์นสำนึก-สุภา ศิริมานนท์ 76.วิทยาวรรณกรรม-กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ 77.ความงามของศิลปไทย-น.ณ ปากน้ำ 78.ภาษากฎหมายไทย-ธานินทร์ กรัยวิเชียร 79.วรรณไวทยากร-เจตนา นาควัชระ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ 80.แสงอรุณ 2-แสงอรุณ รัตกสิกร

ง.สังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม 81.พระราชพิธีสิบสองเดือน-รัชกาลที่ 5 82.สาส์นสมเด็จ-กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 83.30 ชาติในเชียงราย-บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ 84.เทียนวรรณ-สงบ สุริยินทร์ 85.กาเลหม่านไต-บรรจบ พันธุเมธา 86.นิทานชาวไร่-น.อ.สวัสดิ์ จันทนี 87.ภารตวิทยา-กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย 88.ฟื้นความหลัง-พระยาอนุมานราชธน 89.ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ-จิตร ภูมิศักดิ์ 90.อัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา กฤดากร 91.80ปีในชีวิตข้าพเจ้า-กาญจนา นาคพันธ์

จ.ศาสนา, ปรัชญา 92.พระประวัติตรัสเล่า-กรมพระยาวชิรญาณวโรรส 93.พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน-สุชีพ ปุญญานุภาพ 94.ปัญญาวิวัฒน์-สมัคร บุราวาศ 95.พุทธธรรม-พระธรรมปิฎก 96.อิทัปปัจจยตา-พุทธทาสภิกขุ ฉ.ธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์ 97.หนังสือแสดงกิจจานุกิจ-เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ 98.แพทยศาสตร์สงเคราะห์-คณะกรรมการแพทย์หลวงในรัชกาลที่ 5 99.ธรรมชาตินานาสัตว์-บุญส่ง เลขะกุล 100.ขบวนการแก้จน-ประยูร จรรยาวงษ์


แหล่งที่มา : รู้ไปโม้ด "100 ควรอ่าน" หนังสือพิทพ์ ข่าวสด วันที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5844 หน้า 22

วช.ประกาศ 7 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ PDF พิมพ์ ส่งเมล
  ศ.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานแถลงข่าวนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2549 ว่า วช. ได้พิจารณาคัดเลือกนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่นเพื่อประกาศเกียรติคุณ ในสาขาต่างๆ รวมทั้งสิ้น 7 คน ดังนี้

       1. รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวและเป็นผู้ค้นพบยีนความหอมของข้าวไทย

       2. ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายสำคัญ อาทิ งานวิจัยด้านกฎหมายทะเล และงานวิจัยด้านกฎหมายท่องเที่ยวที่ริเริ่มถึงการสร้างกฎหมายว่าด้วยการท่องเที่ยวแห่งชาติ

      3. ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

      4. รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เพราะสร้างสรรค์ผลงานปรัชญาการเมืองที่ศึกษาถึงความรุนแรงในสังคมไทย  และนำเสนอการแก้ไขปัญหาความรุนแรงด้วยสันติวิธี

     5. ศ.ดร.ทวี ตันฆศิริ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ในฐานะที่เป็นผู้อุทิศตนให้กับงานด้านฟิสิกส์อย่างต่อเนื่อง

    6. ศ.นพ.ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีผลงานโดดเด่นในการศึกษาพันธุศาสตร์ของการเกิดมะเร็งและโรคอื่นๆ ที่ไม่มีเคยมีการค้นพบมาก่อน และ 7. ศ.ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ในฐานะเป็นผู้มีผลงานโดดเด่นด้านพันธุวิศวกรรม.


แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่ 57 ฉบับที่ 17858 วันพุธ ที่ 13 ธันวาคม 2549

3 อาหารช่วยลดไขมันในเส้นเลือด PDF พิมพ์ ส่งเมล
3 อาหารช่วยลดไขมันในเส้นเลือด จากวารสารชีวจิต ปีที่ 5 ฉบับที่ 207


  คอเลสเตอรอลสูงขึ้น หมอเตือนให้ระวังเรื่องอาหารการกิน โดยเฉพาะอาหารมันๆ เพราะเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ 

  อาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์ และหันมาเลือกรับประทานอาหารที่มาจากไขมันไม่อิ่มตัว

 แทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง รวมถึงอาหารบางชนิดที่มีคุณสมบัติช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลได้อย่างดี  ดังนี้คือ ถั่วเหลือง รวมทั้งอาหารต่างๆ ที่แปรรูปจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำมันพืช น้ำเต้าหู้ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นอาหารสุขภาพที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมี


  1. แอปเปิล เป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูง ลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด และยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชัน ซึ่งช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  2.  ข้าวโอ๊ต ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลได้ดี เพราะมีเบต้ากลูแคนหรือไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ซึ่งจะไปช่วยจับคอเลสเตอรอล มีผลทําให้ปริมาณของคอเลสเตอรอลลดลง
<< หน้าแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 หน้าถัดไป > หน้าสุดท้าย >>

ผลลัพธ์ 51 - 59 จาก 68
Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!