http://library.sk.ac.th >>    Saturday, 11 May 2024
หน้าแรก arrow วันอนุรักษ์มรดกโลก

วันสำคัญ
วันขึ้นปีใหม่
วันเด็ก
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันแห่งความรัก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันข้าราชการพลเรือน
วันจักรี
วันสงกรานต์
วันแรงงาน
วันฉัตรมงคล
วันลอยกระทง
วันทหารผ่านศึก
วันอนุรักษ์มรดกโลก
วันอนามัยโลก
วันโรคเอดส์โลก
วันสุนทรภู่
วันมหิดล
วันอนุรักษ์มรดกโลก PDF พิมพ์ ส่งเมล
26  กุมภาพันธ์                                                                           

         ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นมาเป็นเวลาช้านาน  ศิลปวัฒนธรรมไทยนับเป็นสิ่งสำคัญในยิ่ง  ในอันที่จะหล่อหลอมชาวไทยในภูมิภาคต่างๆ  ให้เกิดความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียว

      แต่เนื่องจากกรเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็วมีผลทำให้มรดกทางวัฒนธรรมในแขนงต่างๆ  นับตั้งแต่โบราณวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิต  ค่านิยมและระบบประเพณีต่างๆ  ในท้องถิ่นได้รับผลกระทบและถูกละเลยทอดทิ้ง
และแม้ว่าในภาครัฐบาล  จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยตรง  แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ทันเหตุการณ์ได้  จึงจำเป็นต้องหามาตรการในการที่จะประชาสัมพันธ์  และขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษามรดกวัฒนธรรมของชาติให้มากขึ้น
กรมศิลปากรจึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี  เพื่อพิจารณาเห็นชอบในการที่จะกำหนดช่วงเวลาที่แน่ชัดในรอบปีหนึ่งๆ  เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงความสำคัญ  และความจำเป็นของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ  เพื่อให้เกิดแนวความคิด  ความต้องการในอันที่จะทำนุบำรุงรักษาโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  และศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ
ดังนั้น  คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์  2528  ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี  อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  องค์เอกอัคราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย  เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย  ด้วยตระหนักในพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรมของพระองค์  และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุเคราะห์และสนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติตลอดมา  และในวันที่  23  กรกฎาคม  2532  ได้มีการจัดตั้งกองทนุอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ


วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย


1.      เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
2.      เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี
3.      เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถานโบราณวัตถุ และร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาไว้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น
4.      เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
5.      เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง
6.      เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ  ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนแปลงทิศทางไป
ในวันอนุรักษ์มรดกไทย  จังหวัดต่างๆ  ทั่วประเทศได้ร่วมกันจัดกิจกรรมที
สร้างเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมเช่นการจัดนิทรรศการ  การจัดการแสดง  การฉายภาพยนตร์  ทัศนศึกษาโบราณสถาน  และสถานสำคัญทางศาสนา



ที่มา : วรนุช  อุษณกร.  ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก.  โอเดียนสโตร์,2538.
 
Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!