http://library.sk.ac.th >>    Sunday, 28 April 2024
หน้าแรก arrow วันสำคัญ

วันสำคัญ
วันขึ้นปีใหม่
วันเด็ก
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันแห่งความรัก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันข้าราชการพลเรือน
วันจักรี
วันสงกรานต์
วันแรงงาน
วันฉัตรมงคล
วันลอยกระทง
วันทหารผ่านศึก
วันอนุรักษ์มรดกโลก
วันอนามัยโลก
วันโรคเอดส์โลก
วันสุนทรภู่
วันมหิดล
PDF พิมพ์ ส่งเมล



ประวัติความเป็นมา

       วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัเริ่มแรก เมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทิน กับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือน เข้าไปอีก 1 เดือนเป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี

       ต่อมาชาวอียิปต์ กรีกและชาวเซมิคิคได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนีย มาดัวแปลงแก้ไขอีกหลายคราว เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุงในปีหนึ่งมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วันเพิ่มขึ้นวอีก 1 วันเป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า "อธิกสุรทิน"

       เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทิน ก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาใน ปฏิทินยาว กว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทิน ของ ทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มี เวลากลางวันและกลางคืนเท่าทัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรง ทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ.2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงปรับปรุงแก้ไข หักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วัน หลังจาก วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 ) ปฏิทินแบบใหม่จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

กำหนดการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ในเมืองไทย

      แต่เดิมไทยเราถือเอา วันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหม์ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ หรือวันแรกที่ดวงอาทิตย์ เคลื่อนจากจักรราศึมีน ไปสู่จักรราศีเมษ (เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า สงกรานต์ แปลว่า การเคลื่อนย้าย)

      การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติย่อม คลาดเคลื่อน กันไปใน แต่ละปี ดังนั้น ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย นับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่ จะได้ตรงกัน ทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่า วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ปีต่อ ๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายนแล้วก็ตาม) ดังนั้น จึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี

   ครั้นถึงปี พ.ศ.2483 ในวันที่ 24 ธันวาคม คณะรัฐบาลในสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้ใช้ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นวันปีใหม่ตามสากลนิยมตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ สอดคล้อง กับบรรดา นานาอารยประเทศ ซึ่งนิยมใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่กันทั่วโลก




ประเพณีทำบุญปีใหม่

     ในราชพิธี มีสวดมนต์ ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย โดยพระสงฆ์จำนวนเท่า พระบรมอัฐิและพระอัฐิ รุ่งขึ้น สดับปกรณ์ ในวันที่ 2 มกราคม สดัปกรณ์พระบรมอัฐิกรมพระราชวับวร เฉพาะในวันที่ 31 ธันวาคม และในวันที่ 1 มกราคม ได้ทรงบาตรพระสงฆ์วันละ 150 รูป ณ ประตูฉนวนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สิ่งที่บุรพชน ต้นสกุล ของเราเคยทำมาเดิม คือก่อนถึงวันปีใหม่ก็จะจัดบ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อย จัดตัวเองเสียใหม่ ประดับธงทิว ประทีป โคมไฟเตรียมการทำบุญ เตรียมแจกขนม เตรียมเลี้ยงกัน เตรียมอวยชัยให้พรกัน ปล่อยนกปล่อยปลา ให้พ้นที่กักขัง ชำระสะสางของเก่าให้สะอาด ส่งเสริมของใหม่ให้มั่นคงถาวรต่อไป และธรรมเนียมการแจกขนม ของขวัญต้องนำไปถึงที่อยู่ของผู้รับ หากไม่สามารถไปด้วยตนเองได้ ให้ฝากไปก็ได้ แต่ห้ามให้กลางทาง หรือพบที่ไหนให้ที่นั่น



ตำนานส่ง ส.ค.ส.

      ธรรมเนียมการส่งความสุขปีใหม่ด้วยบัตร จากการค้นคว้าในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ทราบว่า ส.ค.ส. นั้นเป็นธรรมเนียมที่ไทยได้รับ แบบอย่างมาจากฝรั่ง เพราะธรรมเนียมในวันปีใหม่ มีแต่การทำบุญเลี้ยงพระ แล้วเล่นสนุกเท่านั้น การส่งบัตรอวยพรเกิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2409 ผู้ที่ส่งคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นการ์ดพิมพ์

      สำหรับบัตรอวยพรที่มีการเขียนคำว่า "ส.ค.ส." เริ่มเมื่อรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะ เป็นนามบัตรเขียนว่ ส.ค.ส. หรือไม่ก็เขียนคำอวยพร ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งในราชสำนักถวายแต่ รัชกาลที่ 5 จากนั้นการส่งบัตรอวยพร หรือ ส.ค.ส. ก็ได้ขยายกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งปัจจุบัน

 




 ที่มา : ธนากิต . ประเพณีพิธีมงคลและวันสำคัญของไทย 
         จันทร์ ไพจิตร. ประมวลพิธีมงคลไทย
         ประยูร อุรุชาฎะ. ประเพณีไทยต่าง ๆ

Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!