http://library.sk.ac.th >>    Sunday, 12 May 2024
หน้าแรก arrow วันศิลปินแห่งชาติ

วันสำคัญ
วันขึ้นปีใหม่
วันเด็ก
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันแห่งความรัก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันข้าราชการพลเรือน
วันจักรี
วันสงกรานต์
วันแรงงาน
วันฉัตรมงคล
วันลอยกระทง
วันทหารผ่านศึก
วันอนุรักษ์มรดกโลก
วันอนามัยโลก
วันโรคเอดส์โลก
วันสุนทรภู่
วันมหิดล
วันศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์ PDF พิมพ์ ส่งเมล


24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ   

  "ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ          เอกราชเอกลักษณ์เอกศักดิ์ศรี
เป็นคันฉ่องส่องงามและความดี         เป็นโคมฉายช่วยชี้วิถีชน..."

       เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พูดถึงศิลปินแห่งชาติไว้ว่า งานศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญา และความสามารถ ของมนุษย์ เป้าหมายของงานศิลปะ ก็เพื่อประโยชน์แก่ชีวิต งานวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องของวิถีชีวิต ที่มนุษย์ดำรง อยู่เป็นครอบครัว ชุมชน สังคมชาติ ส่วนงานศิลปะมุ่งเน้นไปที่ความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะปรุงและปรับ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีกว่าของชีวิตมนุษย์ในทุกๆ ด้านทั้ง กาย ใจ และปัญญา ผู้สร้างงานศิลปะเราเรียกว่า "ศิลปิน" เป็นศิลปินแห่งชาติ จึงหมายถึงผู้สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นประโยชน์แก่สังคม หรือแก่ชนในชาติ โครงการศิลปิน แห่งชาติ เกิดขึ้นด้วยเจตนารมณ์จะยกย่องเชิดชูบุคคล ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะทุกแขนง อันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า สมควรกับฐานะศิลปินแห่งชาติ       โครงการศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้นจากมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ให้ถือเอาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวัน "ศิลปินแห่งชาติ" เพราะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งทรงเป็นปฐมบรมศิลปิน แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระปรีชาสามารถใน การสร้างสรรค์ศิลปะ ด้านต่างๆ เช่น ด้านกวี นิพนธ์บทละครไว้ถึง 7 เรื่อง โดยเฉพาะบทละครเรื่องอิเหนา เป็นเรื่องที่แต่งดีพร้อม ทั้งความ ทั้งกลอน และกระบวนที่จะเล่นละคร วรรณคดีสโมสรได้ตัดสินให้เป็นยอดของละครรำ เมื่อพุทธศักราช 2459 ทรงมีพระปรีชา ทางด้านดนตรี ซอสามสายคู่พระหัตถ์คันหนึ่งชื่อ "สายฟ้าฟาด" เป็นซอที่ทรงบรรเลงบุหลั่นเลื่อนลอย หรือเพลงพระสุบินมาแล้ว ทางด้านสถาปัตยกรรมทรงขึ้นพระหัตถ์พระประธานในพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ซึ่งทรงถวายพระนามว่า "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" ฝีพระหัตถ์ในการปั้นของพระองค์นับว่าเป็นเยี่ยม นอกจากทรงปั้นพระพักตร์พระพุทธรูปก็ยังมีหน้าหุ่นที่เรียกกันว่า พระยารักใหญ่ พระยารักน้อย ซึ่งทรงและ ด้วยฝีพระหัตถ์จากไม้รัก ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นภาพป่าหิมพานต์เป็นต้น นับว่าพระองค์ทรงเป็นผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องของศิลปะอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง ยากที่จะหาผู้ใดมาทัดเทียมได้สมควรแก่การยกย่อง ให้เป็นองค์ปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์          

     เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช พ.ศ. 2529 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพระราชสมัญญา "อัครศิลปิน" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลปัจจุบัน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต คำว่า "อัครศิลปิน" แปลว่า ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันทรงเป็น เอตทัตตะ ในศิลปะหลายสาขาเป็นต้นว่า ดุริยางคศิลป์ทัศนศิลป์ และนฤมิตศิลป์ เป็นต้น

       ด้านดุริยางคศิลป์ ทรงดนตรีได้หลายชนิดและได้พระราชนิพนธ์เพลง ไว้เป็นจำนวนมาก สถาบันดนตรี ต่างประเทศ ยกย่องว่าทรงเป็นเอกในทางดนตรี พระองค์หนึ่ง ทรงส่งเสริมเพลงไทย ได้พระราชทาน เงินจำนวนหนึ่งแก่กรมศิลปากรให้รวบรวมเพลงไทย พิมพ์ออกจำหน่ายแก่นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ ด้านทัศนศิลป์ ทรงชำนาญในการถ่ายรูป และการเขียนภาพสีน้ำมัน มีผลงานเป็นจำนวนมาก นอกจาก งานศิลปะแขนงต่างๆดังกล่าวแล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถ ในการออกแบบและทรงก่อสร้างเรือใบ ด้วยฝีพระหัตถ์ รวมทั้งทรงร่วมแข่งขันในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 พุทธศักราช 2510 ปรากฏว่าทรงชนะเป็นที่ 1 ประเภทโอเค เรือใบที่ทรงใช้ในการแข่งขันทั้งของพระองค์ และของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ที่สำเร็จด้วยพระหัตถ์จากโรงต่อเรือในพระราชวังจิตรลดารโหฐาน จากพระปรีชาสามารถ ในงานศิลปะ และทรงมีคุณูปการดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้จัดสร้าง "หออัครศิลปิน" ขึ้น ณ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมพลอดุลยเดชฯ ในฐานะที่ทรงเป็น "อัครศิลปิน"


คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ 7 ประการ คือ


    • เป็นผู้มีสัญชาติไทย และยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
  • เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวางการศิลปินแขนงนั้น
  • เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
  • เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
  • เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
  • เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
  • เป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกจำแนกศิลปินแห่งชาติออกเป็น 4 สาขาคือ
      • สาขาทัศนศิลป์
  • สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
  • สาขาวรรณศิลป์
  • สาขาศิลปะการแสดง
Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!