ประวัติความเป็นมาของรางวัล
รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน รางวัลซีไรท์ (S.E.A. WRITE AWARD) ประเทศไทย โดยบริษัท สายการบินไทย จำกัดและโรงแรมโอเรียนเต็ล ได้ร่วมกันจัดตั้งรางวัลวรรณกรรมอาเซียน โดยมี เจตนารมย์เพื่อส่งเสริม นักเขียนในกลุ่มประเทศ อาเซียนและเผยแพร่วัฒนธรรมของวรรณกรรมของภูมิภาคนี้
รางวัลซีไรต์มีขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2522 การดำเนินงานรางวัลซีไรต์ในระยะเริ่มแรกนั้น มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เปรมบุรฉัตร เป็นองค์ประธาน และมีคณะกรรมการ ที่เป็นผู้บริหาร ของโรงแรม และได้มอบหมายให้ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และสมาคมนักเขียน แห่งประเทศไทย จัดตั้งคณะ กรรมการคัดเลือก วรรณกรรมของ ไทย ส่วนของประเทศอื่นนั้น นายกสมาคมทั้งสองได้เจรจา ขอให้ประเทศเหล่านั้นส่งนักเขียนผู้มีผลงาน ดีเด่นเข้ามาประเทศละ 1 คน
ในตอนแรกมีเพียง 5 ประเทศ คือ มาเลเซีย ฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ปัจจุบันมี 10 ประเทศ โดยเพิ่มประเทศบรูไน ลาว เขมร เวียดนาม และพม่า หลังจากที่องค์ประธานสิ้นชีพตักษัย ชายาหรือหม่อมงามจิต บุรฉัตร ก็เข้ารับหน้าที่แทน จากนั้นก็เป็นพระวรวงศ์เธอวิมลฉัตร ผู้เป็นพระกนิษฐา แล้วตามมาด้วยหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล และหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี มาจนถึงปัจจุบัน ประธาน คือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีการกำหนดระเบียบเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการคัดเลือกและ คณะกรรมการตัดสิน โดยคณะกรรมการคัดเลือก มีกรรมการจำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย
ผู้แทนสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย 3 คน สมาคมนักเขียน แห่งประเทศไทย 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน คณะกรรมการตัดสินมีกรรมการ 7 ท่าน ประกอบด้วย นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน 1 คน นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน 1 คน นักเขียนหรือกวี 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณกรรม 3 คน ประธาน เป็น คณะกรรม การคัดเลือกโดยตำแหน่ง
นอกจากนั้นยังมีการกำหนดประเภทของวรรณกรรมที่ส่งเข้าประกวด ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งจะเวียน เปลี่ยนกันไป ยกเว้นบทละครยังไม่เคยมีผู้ส่งประกวด สำหรับกำหนดเวลาส่งงานแบ่งออกเป็นว่า วรรณกรรมนวนิยาย ให้ส่งภายใน 31 มีนาคม ส่วนเรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ให้ส่งภายใน 30 เมษายนของทุกปี และจะประกาศผลภายในเดือนสิงหาคม ส่วนงานพระราชทานรางวัลจะจัดขึ้นภายในเดือน กันยายนหรือตุลาคม
|