http://library.sk.ac.th >>    Sunday, 15 September 2024
หน้าแรก arrow คำพูน บุญทวี

นักเขียนรางวัลซีไรต์
นักเขียนรางวัลซีไรต์
คำพูน บุญทวี
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
อัศศิริ ธรรมโชติ
คมทวน คันธนู
นิคม รายวา
ชาติ กอบจิตติ
วาณิช จรุงกิจอนันต์
อังคาร กัลยาณพงศ์
ไพฑูรย์ ธัญญา
กนกพงศ์ สงสมพันธ์
งามพรรณ เวชชาชีวะ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องซีไรต์
คำพูน บุญทวี PDF พิมพ์ ส่งเมล
 ชีวประวัติ                                   

ชื่อเดิม คูณ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2471 ที่ตำบลทรายมูล กิ่งอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เป็นบุตรของ นายสนิท และนางลุน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสานปรีชาบัณฑิต อำเภดเมือง จังหวัดยโสธร เตยประกอบอาชีพ หลายประเภท เป็นกรรมกรรับจ้าง เป็นคนเลี้ยงม้า เป็นสารถีสามล้อ จนกระทั่งสอบเป็นครู สอนหนังสืออยู่ประมาณ 9 ปี จึงเปลี่ยน ไปทำงานในหน้าที่ผู้คุมเรือนจำ และลาออกจากราชการเมื่ออายุ 40 ปี เศษ

    ชีวิตนักเขียนของคำพูนไม่ราบรื่นนัก เพราะขายลิขสิทธิ์ขาด ให้กับสำนักพิมพ์ในยุคแรก ๆ ต่อมาตั้งสำนักพิมพ์เอง จัดพิมพ์ ผลงานของตนเองต่อมาป่วยเป็นโรคเกาต์ ใช้ชีวิตคู่กับลันนา เจริญสิทธิชัย จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2546

    เกียรติประวัติของคำพูน บุญทวี นอกจากจะเป็นนักเขียนรางวัลซีไรต์คนแรกแล้ว ยังได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย

 ผลงาน

     ในช่วงที่เป็นผู้คุมนักโทษเขาเริ่มเขียนหนังสือ และเรื่องสั้นเรื่องแรก เขาได้ส่งให้บรรณาธิการ อาจินต์ ปัญจพรรค์ เรื่อง นิทานลูกทุ่ง ได้ตีพิมพ์ ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย และได้เป็นนักเขียนประจำฉบับ และได้เขียนผลงานชิ้นต่อมา

  •     นวนิยายเรื่อง ลูกอีสาน ลงตีพิมพ์ในฟ้าเมืองไทย ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2518 - 2519 และในปี พ.ศ. 2519 ได้ รับรางวัลดีเด่นประเภทนวนิยายจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2522 ได้รับรางวัลซีไรต์อีกครั้ง
  • นอกจากนี้ยังมีเรื่องสั้นอื่น ๆ เช่น แม่หม้ายที่รัก(2520) เกิดมารวย (2520)
  • นวนิยาย เรื่อง นายฮ้อยทมิฬ ได้รับ รางวัลชมเชยในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (2521)
  • นวนิยายอื่น ๆ เช่น มนุษย์ 100คุก , เลือดอีสาน , นักฆ่าลูกทุ่ง, นักเลงตราควาย, นายหน้า, แมงดา , อาโก, โสเภณีเด็ก,
  • เรื่องสั้นอื่น ๆ เช่น นมอีเขียวขึ้นราคา, หอมกลิ่นบาทา, ลูกทุ่งเข้ากรุง, ลาบหัวเราะ
  • สารคดี เช่น ทุ่งกุลาอาถรรพณ์, นรกหนาวในเยอรมัน,  คำพูนกลัวตาย, ลูกอีสานขี่เรือบิน, เล่าเรื่องวรรณกรรม, และ สีเด๋อย่ำเยอรมัน เป็นต้น
      ลักษณะงานเขียนของคำพูนมักเป็นเรื่องที่เป็นประสบการณ์ชีวิตของตนเอง การใช้ภาษามักเป็นภาษาที่ง่าย สื่อสารกับผู้อ่านได้โดย ไม่ต้องตีความ ซึ่งเป็นการใช้ภาษาที่เหมาะกับเรื่อง เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของชาวบ้านทุ่ง

Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!