http://library.sk.ac.th >>    Sunday, 15 September 2024
หน้าแรก arrow วันครู

วันสำคัญ
วันขึ้นปีใหม่
วันเด็ก
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันแห่งความรัก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันข้าราชการพลเรือน
วันจักรี
วันสงกรานต์
วันแรงงาน
วันฉัตรมงคล
วันลอยกระทง
วันทหารผ่านศึก
วันอนุรักษ์มรดกโลก
วันอนามัยโลก
วันโรคเอดส์โลก
วันสุนทรภู่
วันมหิดล
วันครู 16 มกราคม PDF พิมพ์ ส่งเมล

          ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู ในปีพ.ศ.2499 จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศ ถึงความคิดที่จะ กำหนดให้มีวันครู และเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป 
                             

         ดังนั้น ในวันที่ 21 พศฤจิกายน พ.ศ.5499 คณรัฐมนตรีได้มีมติ กำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปีพ.ศ.2488 นั้น ซึ่งระบุให้มีกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่าคุรุสภา เป็นนิติบุคลคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกวุฒิสภา โดยมีหน้าที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยา และวินัยของครู รัประวัติความเป็นมากษาผลประโยชน ์ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
        ในทุกๆปี คุรุสภาได้ให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาศให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ แถลงผลงาน ในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินของคุรุภา
                            
การจัดงานวันครูในส่วนกลาง
        การจัดงานวันครูครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของสถานกรีฑาแห่งชาติ ปัจจุบันในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยมีคระกรรมการจัดงานวันครู และมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน

       พิธีจะเริ่มขึ้นในตอนเช้า โดยมีพิธีตักบาตรพระสงฆ์ หลังจากนั้นจะมีพิธีในหอประชุมคุรุสภา ทำพิธีบูชาบูรพาจารย์ โดยครูผู้อาวุโสนอกประจำการจะเป้นผู้กล่าวนำพิธี สวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสนำผู้ร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ และมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกแก่ครูอาวุโส   

คำปฏิญาณ
ข้อที่ 1 ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

ข้อที่ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ


การจัดงานในส่วนภูมิภาค
       ในส่วนภูมิภาค มอบหมายให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครู เหมือนกับส่วนกลาง จะมีการจัดงานที่จังหวัดหรืออำเภอ งานวันครูได้กำหนดเป็นหลักการ ให้มี

          ในการจัดงานวันครูในส่วนภูมิภาค มอบให้จังหวัดเป็น ผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลาง จะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
งานวันครูได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณ์สำคัญแก่อนุชนรุ่นหลัง การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจการ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูให้มีกิจกรรมเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้ คือ
 
         1. กิจกรรมทางศาสนา
         2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ การประกอบพิธีปฏิญานตน การให้รางวัลเพื่อเป็นการส่งเสริมครูอาจารย์ที่มีผลงานความสามารถจนเป็นที่ยกย่อง
         3. จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบการวิชาชีพครู เช่น การแข่งกีฬา การจัดงานรื่นเริงสังสรรค์
   
....Top


 

กิจกรรมต่างๆที่ควรปฏิบัติในวันครู

1.ร่วมกิจกรรมทางศาสนา ทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรดาบูรพาจารย์ที่ล่วงลับ
2. ส่งบัตรอวยพร หรือไปเยี่ยมเยือนครู-อาจารย์ที่เคยให้ความรู้อบรมสั่งสอนเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดี และแสดงความกตัญญูกตเวที
3. ร่วมพิธีบูชาบูรพาจารย์
4. ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น นิทรรศการเกี่ยวกับครู การเรียนการสอน หรือกิจกรรมการกุศลที่หารายได้สมทบกองทุนช่วยเหลือครู เป็นต้น   
....Top


จรรยาบรรณครู 9 ข้อ
 
ข้อ 1. ครูต้องรักและเมตตาต่อศิษย์ ให้ความเอาใจใส่ ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน โดยเสมอหน้า อาทิ การสร้างความรู้สึกที่เป็นมิตรเป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจได้ของศิษย์
ข้อ 2 ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝนสร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ อาทิ การตอบข้อเสนอและการกระทำของศิษย์ในทางสร้างสรรค์
ข้อ 3 ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
ข้อ 4 ครูต้องไม่ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติ ปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
ข้อ 5 ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช่ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
ข้อ 6 ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ และการเมืองอยู่เสมอ
ข้อ 7 ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
ข้อ 8 ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
ข้อ 9 ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธธรมไทย   

หน้าที่ของครูอาจารย์พึงมีต่อศิษย์ 1. แนะนำดี
2. ให้เรียนดี
3. บอกศิลปให้สิ้นเชิงไม่ปิดบังอำพราง
4. ยกย่องให้ปราฏในเพื่อนฝูง
5. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
  
Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!