http://library.sk.ac.th >>    Wednesday, 11 December 2024
หน้าแรก arrow วันกองทัพไทย

วันสำคัญ
วันขึ้นปีใหม่
วันเด็ก
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันแห่งความรัก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันข้าราชการพลเรือน
วันจักรี
วันสงกรานต์
วันแรงงาน
วันฉัตรมงคล
วันลอยกระทง
วันทหารผ่านศึก
วันอนุรักษ์มรดกโลก
วันอนามัยโลก
วันโรคเอดส์โลก
วันสุนทรภู่
วันมหิดล
วันกองทัพไทย 25 มกราคม PDF พิมพ์ ส่งเมล
ประวัติความเป็นมา
            
         กระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยน โดยให้ถือเอา วันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากวันที่ 25 มกราคม 2135 เป็นวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ที่ตำบล หนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี ได้รับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติสูงสุด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่สมควรจะน้อมรำลึกถึงวีรกรรม อันยิ่งใหญ่ของพระองค์ และกองทัพไทยในครั้งนั้น และผลแห่งชัยชนะ ในครั้งนั้น ทำให้ข้าศึกไม่กล้าเข้ามารุกรานไทยทุกทิศทางเป็นเวลานานถึง 150 ปี      
 .....Top

สงครามยุทธหัตถี
             
              เมื่อกรุงหงสาวดีของพม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ พระเจ้านันทบุเรง ขึ้นเป็น กษัตริย์ สืบต่อมา ทางพม่า ได้แจ้งข่าวการ เปลี่ยนรัชกาลไปยังประเทศราช โดยให้ผู้ปกครองประเทศราช ไปเฝ้า ตาม ราชประเพณี ในครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้โปรดให้พระนเรศวร ราชโอรสเสด็จขึ้น ไปแทน พระองค์ เสด็จถึงเมืองแครง บังเอิญทรงทราบ ถึงแผนการ ของพม่า ซึ่งคิดประทุษร้าย ต่อพระองค์จากบุคคล สำคัญ ทางมอญ ที่สนิทสนมได้ลอบมาทูลก่อนที่จะถึงเมืองพม่า ด้วยเหตุนี้พระนเรศวร จึงทรงถือโอกาส ประกาศ อิสรภาพ ณ เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 แยกราชอาณาจักรศรีอยุธยาออกเป็นอิสรภาพจากพม่า แล้วจึงยกทัพ ข้าม แม่น้ำสะโตง ไปจนใกล้จะถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบข่าวว่า พระเจ้าหงสาวดีได้ รบพุ่งมีชัยชนะ ได้เมืองอังวะ แล้ว จวนใกล้จะยกทัพ กลับคืนพระนคร พระนเรศวร ทรงเห็นว่าการจะตีเมืองหงสาวดีในครั้งนี้คงยังไม่ได้ จึงให้ กองทัพแยกย้ายกัน ไปบอกครัวไทยที่พม่า กวาดต้อนเอา ไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้อพยพกลับ ได้ ครอบครัว กลับ มาตุภูมิเดิมถึง 10,000 เศษ ฝ่ายพระมหาอุปราช ได้ทราบข่าว จึงยกมาเป็นทัพหลวง ยกติดตามพระนเรศวรมา โดยให้สุรกรรมาเป็นกองทัพหน้า ครั้นกองหน้ามาถึงแม่น้ำสะโตง เมื่อพระนเรศวร ยกทัพมาข้ามฟากมา ได้แล้ว จึงยิงต่อสู้กันอยู่ที่ริมแม่น้ำ พระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืนกระบอกหนึ่งยาว 9 คืบ ถูกสุรกรรมา นายทัพหน้า ของข้าศึกตายอยู่กับคอช้าง พวกรี้พลเห็น นายทัพตายก็ครั่นคร้ามเลิกทัพกลับไป พระแสงปืนที่พระนเรศวรยิงถูกสุรกรรมาตายนั้น ได้มีนามปรากฏว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็น พระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค สำหรับแผ่นดินสืบมาตราบ จนกาล ปัจจุบันนี้             
              ครั้นถึงเดือนพฤศจิกายน วันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรงได้เสด็จยาตราทัพ ออกจาก กรุงหงสาวดี เพื่อยกมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระนเรศวรทรงทราบว่าพม่ายกมาครั้งนี้เป็นทัพใหญ่ จึงให้รวบรวม เสบียง อาหาร และไพร่พลจาก หัวเมืองเข้าพระนคร แม้กองทัพใหญ่ฝ่ายพม่า จะโจมตีพระนครเป็นหลายครั้ง ก็ไม่สำเร็จ จึงตั้งล้อมกรุงไว้เป็นเวลา 4 เดือน เมื่อเห็นว่าไม่สามารถเอาชนะไทยได้ จึงยกทัพกลับใน เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2130 วันจันทร์ เดือนยี่ แรมสองค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จ พระเอกาทศรถ ทรงจัดเตรียมกองทัพตีพม่าที่ยกมาใหม่แตกหนี ขณะนั้นเองช้างพระที่นั่ง ของสมเด็จพระนเรศวร ชื่อ เจ้าพระยาไชยานุภาพ กับช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถชื่อพระยาปราบไตรจักร เป็นช้างตกมัน ได้ไล่ตาม ข้าศึก ไปทำให้กองทหารไทยไล่ตามไม่ทัน มีแต่จัตุรงคบาท และพวกทหารรักษาพระองค์เท่านั้นที่ติดตามไปทัน เมื่อพระนเรศวรทอดพระเนตร เห็นพระมหาอุปราชทรงพระคชธาร อยู่ในร่มไม้กับเหล่าท้าวพระยา จึงทราบว่า ได้ถลำ เข้ามาจนถึงกลางกองทัพปัจจามิตรแล้ว แต่พระองค์ทรง มีสติมั่นไม่หวั่นไหว จึงไสช้างเข้าไปใกล้แล้วตรัส ไปโดยฐานคุ้นเคยกันมาก่อนทั้งในวัยยเยาว์ และวัยเติบใหญ่ว่า "เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม ขอเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่ จะชนช้างอย่างเราไม่มีอีกแล้ว"
             ด้วยความมีขัตติยมานะ พระมหาอุปราชาจึงไสช้าง พลายพัธกอ ออกมาชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพ ซึ่งกำลังตกมัน เมื่อเห็นข้าศึกตรงออกมาท้าทายก็โถมแทงทันทีไม่ยับยั้งเลยเสียที พลายพัธกออยู่ด้านล่างรุน เอาเจ้าพระยาไชยานุภาพเบน จะขวงาตัว พระมหาอุปราชาได้ทีฟันด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวร เบี่ยงพระองค์หลบทัน ถูกแต่พระมาลาหนังขาคลิไป พอดีกับเจ้าพระยาไชยานุภาพสะบัดหลุด แล้วกลับได้ล่าง แบกรุนพลายพัธกอ หันเบนไปบ้าง สมเด็จพระนเรศวรก็จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระมหาอุปราชา ที่อังสะขวา (ไหล่ขวา)ขาด ซบสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างศึก ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถได้ชนช้างกับ เจ้าเมืองจาปาโรและฟันเจ้าเมืองจาปาโรคอขาดตายคาคอช้างเช่นกัน ซึ่งฝ่ายกรุงหงสาวดีก็เลิกทัพกลับไป              จากเหตุการณ์การทำสงครามยุทธหัตถีในครั้งนั้น ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มกราคม 2135 จึงถือเอาวันที่ 25 มกราคมของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย เพื่อระลึกถึงความภาคภูมิใจในวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ และความสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเสียสละทุกอย่างและความสามารถ ของวีรบุรุษและกองทัพไทยในครั้งนั้น  
 .....Top   

หลักฐานของการเริ่มให้มีการจัดตั้งกองทัพไทย
            ปรากฏหลักฐานที่ค้นพบจาก หลักศิลาจารึกในสมัยสุโขทัยว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้รวบรวมไทย ตั้งราชอาณาจักร และถือว่าชายไทยทุกคนต้องเป็นทหาร มีหน้าที่ป้องกันประเทศ โดยแบ่งเป็นพลเดินเท้า หน่วยเคลื่อนที่เร็ว ได้แก่ ทหารม้า และหน่วยกำลังรบโจมตี เพื่อหวังชนะเด็ดขาด ได้แก่ทหารช้าง ต่อมาในสมัย กรุงศรีอยุธยา ได้มีการแบ่งกิจการทหาร และพลเรือนแยกออกจากกัน มีการกำหนดให้ชายไทย ทุกคน ต้องเขารับราชการทหาร และแบ่งออกเป็น 4 เหล่า เรียกว่าจตุรงคเสนา ได้แก เดินเท้า ม้า รถ และช้าง ต่อมาในสมัยปัจจุบัน กองทัพไทย ได้มีการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการจัด การฝึก การศึกษา การยุทธ และด้านอื่นๆอีกมาก เพื่อให้ทัดเทียมอารยประเทศ มีการจัดตั้ง กองบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อเป็น หน่วย บังคับบัญชาของ 3 เหล่าทัพ อันได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ    .....Top  


ภารกิจและหน้าที่ของกองทัพไทย
            ภารกิจที่สำคัญของกองทัพไทย คือ การป้องกันราชอาณาจักรจากการรุกรานจากภายนอกประเทศ ที่มีการวางแผน และปรับปรุงกันเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงด้าน การพัฒนากำลังพล การพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ การรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยภายในประเทศ และการพัฒนาประเทศ และการดำเนินการ สนองนโยบายของรัฐบาล การปฏิบัติงานตามแนวทางพระราชดำริ
            การกำหนดให้มีวันกองทัพไทยก็เพื่อ ดำรงความุ่งหมายที่จะรักษาไว้ซึ่งความหมาย อันสำคัญยิ่ง ให้ทหาร ทั้งสามเหล่าทัพ ระลึกถึงด้วยความภาคภูมิใจ เกิดความรัก ความสามัคคี หวงแหน ชาติ บ้านเมือง พร้อมที่จะเสียสละชีวิต เพื่อปกป้องรักษา ชาติ ศาสนา ผืนแผ่นดินไทย และพิทักษ์ ราชบัลลังก์ และเพื่อให้ ประชาชนทุกคนได้ระลึกถึง คุณงามความดี ของบรรพชนไทยในอดีต ที่ท่านผู้กล้าหาญเหล่านั้น ได้พลีชีพ เข้าปกป้อง ชาติไทย และประชาชนคนไทยทั้งชาติ ให้ยังความเป็น เอกราช มาได้ตราบเท่าปัจจุบันนี้   
 .....Top




ที่มา : ธนากิต (2539) ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย.
Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!