http://library.sk.ac.th >>    Saturday, 11 May 2024
หน้าแรก arrow วันสงกรานต์

วันสำคัญ
วันขึ้นปีใหม่
วันเด็ก
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันแห่งความรัก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันข้าราชการพลเรือน
วันจักรี
วันสงกรานต์
วันแรงงาน
วันฉัตรมงคล
วันลอยกระทง
วันทหารผ่านศึก
วันอนุรักษ์มรดกโลก
วันอนามัยโลก
วันโรคเอดส์โลก
วันสุนทรภู่
วันมหิดล
วันสงกรานต์ 13 เมษายน PDF พิมพ์ ส่งเมล

ความเป็นมา
       คำว่า"สงกรานต์" แปลว่า ผ่าน หรือการเคลื่อนย้ายเข้าไป ในที่นี้หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์ ผ่าน หรือเคลื่อนย้าย จากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ ในเดือนเมษายน ถือเป็นช่วงสงกรานต์ หากพระอาทิตย์ เคลื่อนย้าย ในช่วงเดือนอื่น ๆ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายธรรมดา


 

        ตามปกติ พระอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่ง ไปสู่ราศีหนึ่ง เป็นประจำทุกเดือน หรือจะเรียกว่าเป็นการย้าย จากกลุ่มดาวหนึ่งไปสู่อีกดาวหนึ่ง  ตามหลักโหราศาสตร์หรือภาษาโหร เรียกว่า "ยกขึ้นสู่" ตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ยกขึ้น สู่ราศีเมษ ก็คือการที่พระอาทิตย์ ย้ายจากกลุ่มดาวราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีถัดไป


 

        ในวันที่พระอาทิตย์ยกสูงขึ้น ในเดือนเมษายน จะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 จะเรียกวันมหาสงกรานต์ และเป็นวันเวลาที่ตั้งต้นสู่ปีใหม่ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของโหราศาสตร์ เพราะสมัยโบราณเรานับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้กำหนดให้ใช้ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งในปี พ.ศ.2432 ตรงกับวันที่ 1 เมษายน นับเป็น วันขึ้นปีใหม และใช้เรื่อยมา เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมโบราณ เนื่องจากหากนับทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 คือวันสงกรานต์ หรือวันที่ดวงอาทิตย์ย้านจากราศีเมษไปสู่ราศีมีน ไปสู่ราศีเมษนั้นเอง และได้ใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่เรื่อยมา ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับทางจันทรคติก็ตาม


       ต่อมา ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 คระรัฐบาลของ จอมพลป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้ใช้
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพือให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ เป็นสากลโลก และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังถือเอาวันที่ 15 เมษายน เป็นวันครอบครัว อีกด้วย

       สมัยก่อนถือว่าวันสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ตรงกับช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวพืชพันธ์ธัญญาหาร คนสมัยโบราณจึงคิดทำกิจกรรมเพื่อเป็นการพักผ่อนหลังการทำงาน และเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบ และสาดน้ำกัน เพื่อคลายความร้อนในเดือนเมษา

       ปัจจุบันประชาชนนิยมทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำ ขอพรผู้ใหญ่ เล่นสาดน้ำใน หมู่หนุ่มสาว ผู้ที่ทำงานในกรุงเทพฯ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จะเดินทางกลับไปกราบขอพรผู้ใหญ่ และนำสิ่งของไปให้เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที เทศกาลสงกรานต์ จึงเป้นเทศกาลที่ส่งเสริมคุณธรรม ความกตัญญู ความรักระหว่างครอบครัว




นิทานเกี่ยวกับวันสงกรานต์
        
    นิทานเกี่ยวกับวันสงกรานต์ กล่าวถึงสมัยโบราณกาล มีเศรษฐีผู้หนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้นักเลงสุรา ซึ่งมี บุตร 2 คน แต่เศรษฐีไม่มีลูก วันหนึ่งนักเลงสุราได้กล่าววาจาเยาะเย้ย เศรษฐีว่า มีแต่ทรัพย์สมบัติ แต่ไม่มีลูกไว้สืบสกุล เมื่อตายไปแล้วสมบัติที่หาไว้ก็จะสูญสิ้นไป เศรษฐีเห็นว่าจริงตามที่นักเลงสุรากล่าว จึงไปทำพิธี บวงสรวงขอลูกกับพระอาทิตย์ ใช้เวลาขอบุตรถึง 3 ปี แต่ก็ไม่สมปรารถนา ในปีต่อมา เศรษฐีพาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ เอาข้าวสารล้างน้ำ เจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชากับเทวดา ณ ต้นไทรพร้อม ข้าวแกงและประโคมดนตรี ตั้งจิตอฐิษฐานขอบุตรต่อรุกขเทวดา

       ต่อมา ธรรมบาลเทพบุตร ได้ลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาของเศรษฐี เมื่อคลอดแล้วได้ชื่อว่า "ธรรมบาลกุมาร" ปลูกปราสาทอยู่ใกล้ริมน้ำ เมื่ออายุ 7 ขวบ สามารถเรียนรู้ภาษาสัตว์ต่าง ๆ ได้ ได้สั่งสอนชาวบ้าน จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวชมพูทวีปทั้งหลาย ในขณะนั้น ท้าวกบิลพรหม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าท้าวมหาสงกรานต์ ก็เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเช่นกัน ทราบว่าธรรมบาลกุมาร ก็เป็นที่เคารพของชาวบ้านเช่นกัน จึงลงมาท้าพนันถามปัญหา 3 ข้อ หากธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้ ต้องตัดศีรษะมาบูชาตน หากตอบได้จะตัดศีรษะตนเองมาเป็นเครื่องบูชาธรรมบาลกุมาร

       ปัญหาทั้ง 3 ข้อ มีดังนี้

เวลาเช้า ราศีอยู่ที่ไหน
เวลาเที่ยง ราศีอยู่ที่ไหน

เวลาค่ำ ราศีอยู่ที่ไหน


       ธรรมบาลกุมารขอเวลา 7 วัน เพื่อคิดไตร่ตรองปัญหา เมื่อเวลา ผ่านไป 6 วัน ก็ยังไม่สามารถ เฉลยปริศนาได้ จึงคิดว่าตนต้องถูกตัดศีรษะแน่ ๆ จึงซ้อนตัวอยู่ในปราสาทแห่งหนึ่ง ซึ่งมีต้นตาล 2 ต้น มีนกอินทรี 2 ผัวเมีย ทำรังอยู่ บังเอิญได้ยินนกอินทรีผัวเมียคุยกันเรื่องของตน

นางนกอินทรี                 : พรุ่งนี้เราจะไปหากินที่ไหนดีล่ะ
อินทรีผู้เป็นสามี             : ไปกินเนื้อธรรมบาลกุมาร เพราะตอบปัญหาท้าวกบิลพรหมไม่ได้
นางนกอินทรี                 : ปัญหานั้นว่าอย่างไร และตอบว่าอย่างไรท่านรู้หรือไม่
อินทรีผู้เป็นสามี             : ข้ารู้ซิ จะเฉลยปัญหาให้ฟัง คือ เวลาเช้า ราศีอยู่ที่หน้า  คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า
                                      เวลาเที่ยง ราศีอยู่ที่อก คนทั้งหลายจึงเอาแป้งและน้ำหอมประพรมหน้าอก
                                      เวลาค่ำ ราศีอยู่ที่เท้า คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า

       เมื่อธรรมบาลกุมารได้ยินคำเฉลยก็ดีใจ และจดจำได้อย่างขึ้นใจ แล้วกลับไปที่ปราสาทของตน รอท้าวกบิลพรหม ด้วยเหตุนี้ท้าวกบิลพรหม จึงต้องพ่ายแพ้ตัดหัวถวายธรรมบาลกุมารตามสัญญา แต่ศีรษะของท้าวกบิลพรหม ตั้งไว้บนพื้นดินไฟจะไหม้ทั่วโลก ถ้าโยนขึ้นบนฟ้า ท้าวกบิลพรหม จึงต้องเรียกธิดาทั้ง 7 ของตน มาเป็นรองรับศีรษะของตนไว้ และสั่งให้พลัดกันดูแลรักษา

       ครั้นแล้วท้าวกบิลพรหมได้ตัดศีรษะของตนส่งให้นางทุงษะธิดาคนโต  นางทุงษะมหาสงกรานต์ นำพานที่ใสพระเศียรของท้าวกบิงพรหม นำเหล่าเทพบริษัทแห่เวียนขวา รอบเขาพระสุเมธ 60 นาที แล้วอัญเชิญเข้าไปประดิษฐ์ ในมณฑลถ้ำคันธุลีไกรลาศ กระทำการบูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ พระเวสสุกรมก็เนรมิตรโรงแก้ว ด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อ ภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาไม้ที่ใช้สำหรับทำน้ำโสม หรือสุรา มาล้างในสระอโนดาต เจ็ดครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทุกพระองค์

      เมื่อครบ 1 ปี ธอดาของท้าวกบิลพรหมจะทำการแห่ เศียรของผู้เป็นบิดา เวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ แล้วนำกลับไปเทวโลก

นางสงกรานต์ทั้ง 7
      นางสงกรานต์ทั้ง 7 คือลูกสาวของท้าวกบิลพรหม เป็นนางฟ้า บนสวรรค์บนชั้น จาตุมหาราชิกา ล้วนเป็นภรรยาน้อยของพระอินทร์ นางต้องเปลี่ยนกันมาอัญเชิญเศียรของท้าวกบิลพรหม ขึ้นอยู่กับว่าวันสงกรานต์วันนั้นจะตรงกับวันใด นางสงกรานต์แต่ละองค์จะมีลักษณะเฉพาะต่างกันคือ ทัดดอกไม้ เครื่องประดับ อาหาร อาวุธ และพาหนะ

วัน
ชื่อ
ดอกไม้
เครื่องประดับ
อาหาร
อาวุธ
พาหนะ
อาทิตย์
นางทุงษะ
ดอกทับทิม
ทับทิม
ผลมะเดื่อ
จักร
และ สังข์

ครุฑ
จันทร์
นางโคราค
ดอกปีบ
มุกดา
น้ำมัน
พระขรรค์ และไม้เท้า

พยัคฆ์
อังคาร
นางรากษส

ดอกบัวหลวง
โมรา
โลหิต
ตรีศูล
และธนู
หมู
พุธ
นางมัณฑา
ดอกจำปา
ไพฑูรย์
นมเนย
ไม้เท้า และ
เหล็กแหลม
ลา
พฤหัสบดี
นางกิริณี
ดอกมณฑา
มรกต
ถั่วงา
ขอ และปืน
ช้าง
ศุกร์
นางกิมิทา
ดอกจงกลนี
บุษราคัม
กล้วย
พระขรรค์
และพิณ
ควาย
เสาร์
นางมโหทร
ดอกผักตบชวา
นิลรัตน์
เนื้อทราย
จักร และ
ตรีศูล
นกยูง


ประเพณีการทำบุญวันสงกรานต์

       แม้จะถือวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากล แต่ธรรมเนียมไทยยัง ให้ความสำคัญ กับวันสงกรานต์อยู่ โดยถือเอาเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบไทย จึงมีการเตรียมการทำ ความสะอาดบ้านเรือน และเตรียมอาหารสำหรับทำบุญตักบาตร และทำกิจกรรมต่างๆ เช่น

  • ทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนา บังสกุลอัฐิของบรรพบุรุษ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้จะมีประเพณี ก่อพระเจดีย์ทรายเข้าวัด ซึ่งเป็นขนทรายเข้าวัด สำหรับเอาไว้ใช้ในงานก่อสร้าง
  • การปล่อยปลา
  • การสรงน้ำพระพุทธรูป
  • การสงฆ์น้ำพระสงฆ์
  • การรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพนับถือ
  • การเล่นสาดน้ำสำหรับหนุ่มสาว
  • การละเล่นพื้นบ้าน
Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!