http://library.sk.ac.th >>    Sunday, 28 April 2024
หน้าแรก arrow วันฉัตรมงคล

วันสำคัญ
วันขึ้นปีใหม่
วันเด็ก
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันแห่งความรัก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันข้าราชการพลเรือน
วันจักรี
วันสงกรานต์
วันแรงงาน
วันฉัตรมงคล
วันลอยกระทง
วันทหารผ่านศึก
วันอนุรักษ์มรดกโลก
วันอนามัยโลก
วันโรคเอดส์โลก
วันสุนทรภู่
วันมหิดล
วันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม PDF พิมพ์ ส่งเมล





ความหมาย    
      ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "ฉัตรมงคล" หมายถึง พระราชพิธี ฉลองพระเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก

ประวัติความเป็นมาของการจัดพิธีบรมราชภิเษก

    การจัดพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพิธีการจัดขึ้นเพื่อต้อนรับประมุขของประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีมา ตั้งแต่ครั้ง พ่อขุนผาเมือง ได้อภเษก พ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย ดังปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึก วัดศรีชุมของพญาลิไท

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี พระองค์ได้ทรงฟื้นฟู วัฒนธรรมของชาติ ทุกสาขา โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการฟื้นฟูพระราชพิธีพระบรมราชภิเษก ให้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์

     พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพิธีราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า " พระบาท "นำหน้า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" และ คำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า "พระบรมราชโองการ" และที่สำคัญ อีกประการหนึ่ง ก็คือ จะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 9 ชั้น

     ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก ตามแบบอย่าง โบราณ ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นวันจุดเทียนชัย และวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นวันประกอบ พิธีบรมราชาภิเษก

ประวัติความเป็นมา
     พระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม เมื่อปี พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงทำพิธีพระบรมราชภิเษก เสด็จขึ้นครองราชเป็นลำดับที่ 9 แห่งราชวงค์จักรี จึงถือว่า วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันมงคลสมัย พสนิกร และรัฐจึงได้ร่วม กันจัดพระราชพิธี ขึ้นเรียกว่า " รัฐพิธีฉัตรมงคล" บ้างก็เรียกว่า "พระราชพิธีฉัตรมงคล"

    ครั้งก่อน ก่อนสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่มีพิธีนี้ คงมีแต่พนักงานฝ่ายหน้า ฝ่ายในพระบรมมหาราชวัง จัดงานสมโภชเครื่องราชูปโภค และตำแหน่งซึ่งตนรักษามา ในเดือนหก ทางจันทรคติ สมัยนั้น ไม่ถือเป็นงานหลวง กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้น ครองราชย์ ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาพิเษก เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2394 แล้ว พระองค์ทรงพระราชดำริว่า วันบรมราชาภิเษก เป็นมงคลสมัย ประเทศทั้งหลายที่มีพระเจ้าแผ่นดินครองประเทศ ย่อมนับถือวันนั้น เป้นวันนักขัตฤกษ์ มงคลกาล ต่างก็จัดงานขึ้นเป็นอนุสรณ์ ส่วนในประเทศของเรายังไม่มี ควรจะจัดขึ้น แต่ประกาศแก่คนทั้งหลาย ว่าจะจัดงาน วันบรมราชาภิเษก หรือ งานฉัตรมงคล ผู้คนในขณะนั้น ยังไม่คุ้นเคย ย่อมไม่เข้าใจ จะต้องทรงอธิบายชี้แจงยืดยาว จึงโปรด ให้เรียกชื่อไปตามเก่าว่างานวันสมโภชน เครื่องราชูปโภค แต่ทำในวันคล้ายวันราชาภิเษก นิมนต์พระมาสวดมนต์ ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 รุ่งขึ้นพระสงฆ์ฉัน ที่พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท

    ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีขึ้น ในรัชกาลของพระบาทสมเจพระจอมเกล้า เป็นคร้งแรก ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกลาให้ จัดงาน 3 วัน วันแรกตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม เป็นงาน พระราชกุศล ทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมริทรวินิจฉัย อุทิศถวายแด่พระบรมราชบุรพการี เป็นพิธีสงฆ์ พระสงฆ์สวดมนต์ แล้วพระราชาคณะ ถวายพระธรรมเทศนา พระสงฆ์สดับปกรณืพระบรมอัฐิ สมเด็จพระบรม ราชบุพการี วันที่ 5 พฤษภาคม เป็นวันฉัตรมงคล มีงานเลี้ยงพระ และสมโภชเครื่องราชกุธภัณฑ์ ตอนเที่ยง ทหารบก ทหารเรือยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 21 นัด ในวันนี้ จะทรงพระกรูณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องราช อิสริยาภรณ์ ตราจุลจอมเกล้า แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานด้วย

พระราชพิธีบรมราชภิเษก

   สำหรับขั้นตอนพิธี ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 5 ลำดับดังนี้

  1. ขั้นเตรียมพิธี การตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษก และน้ำสรงมุรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษกนั้น แต่เดิมจะใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย หรือ ปัญจมหานที ในชมพูทวีป คือ คงคา ยมนา อิรวดี สรภู และมหิ แต่ในรัชกาลปัจจุบัน จะตักน้ำมาจาก สถานที่สำคัญ 18 แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พุทธเจดีย์ ตามจังหวัดต่าง ๆแล้วส่งเข้ามาเจือปน เป็นน้ำมุรธาภิเษก 
 พระพุทธเจดีย์ ที่สำคัญทั้ง 18 แห่ง มี




    1. พระพุทธบาท                      จังหวัดสระบุรี
    2. วัดพระศรีมหาธาตุ               จังหวัดพิษณุโลก
    3. วัดมหาธาตุ                         จังหวัดสุโขทัย
    4. พระปฐมเจดีย์                     จังหวัดนครปฐม
    5. วัดมหาธาตุ                         จังหวัดนครศรีธรรมราช
    6. พระธาตุหริภุญชัย                จังหวัดสำพูน
    7. พระธาตุพนม                      จังหวัดนครพนม
    8. พระธาตุแช่แห้ง                   จังหวัดน่าน
    9. บึงพระลานชัย                     จังหวัดร้อยเอ็ด
    10. วัดมหาธาตุ                         จังหวัดเพชรบุรี
    11. วัดบรมธาตุ                         จังหวัดชัยนาท
    12. วัดโสธร                              จังหวัดฉะเชิงเทรา
    13. วัดพระนารายณ์มหาราช       จังหวัดนครราชสีมา
    14. วัดศรีทอง                            จังหวัดอุบลราชธานี
    15. วัดพลับ                               จังหวัดจันทบุรี
    16. วัดมหาธาตุ ไชยา                 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    17. วัดตานีณรสโมสร                 จังหวัดปัตตานี
    18. วัดทอง                                จังหวัดภูเก็ต
    สำหรับน้ำมุรธาภิเษก จะเจือน้ำจากปัจมหานที ในอินเดีย และปัจจมหานที ในไทย คือ

    1. แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง
    2. แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าชัย จังหวัดเพชรบุรี
    3. แม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดางดึงษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม
    4. แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี
    5. แม่น้ำบางปะกง ตักที่ตำบลบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก
    นอกจากนี้ ยังมีพิธีการ จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ และตราราชลัญจกร ในพระอุดบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วย


  1. พิธีเบื้องต้น มีการตั้งน้ำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์ในการพระบรมราชาภิเษก
  2. พิธีบรมราชาพิเภก เริ่มด้วยการสรงน้ำพระมุรธาภิเษก จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ราชบัณฑิต และพราหมณ์ นั่งประจำ 8 ทิศ กล่าวคำถวาย พระพรชัยมงคล ถวายดินแดนแต่ละทิศ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคุ้มครอง ในวันที่ 5 พฤษภาคม อันเป็นวันประกอบพิธี บรมราชาภิเษก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสรงมุรธาภิเษกแล้ว ทรงเครื่องต้นเสด็จออกประทับเหนือ พระที่นั่งอัฐทิศภายใต้ สตปฎลเศวตฉัตร สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษก และพราหมณ์ ทำพิธี ถวายน้ำเทพมนต์ เวียนแปดทิศ สำหรับพระสุพรรณบัฏ ได้จารึก พระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวพระปรมิทร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร" เมื่อถวายเครื่องราชกุธภัณฑ ์ต่าง ๆ แล้ว พระราชครู ถวามพระพรชัย พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมี พระบรมราชโองการตอบ พระราชอารักษาแด่ประชาชนชาวไทยว่า  "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยขน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม"
  3. พิธีเบื้องปลาย เสด็จออกมหาสมาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ให้คณะทูต สมาชิกสภาผู้แทน และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบทูลถวายพระพรชัยมงคล แล้วทรงมีพระบรมราชโองการตรัสตอบขอบใจทั่วกัน
  4. การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ซึ่งจัดเป็นราชประเพณี สำคัญพิธีหนึ่ง เมื่อเสด็จการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ทั้งนี้เพื่อให้พสกนิกรได้มีโอกาศชื่นชมพระบารมี








ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2537)  "วันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย และแนวทางในการจัดกิจกรรม"  พิมพ์ครั้งที่ 2  กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

         ธนากิต. (254)  "วันสำคัญของไทย"   กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก..

Copyright © 2006 by Suankularb Wittayalai School Library, All right reserved.
เว็บไซต์นี้ควรชมด้วยโปรแกรม Internet Explorer 5.5 ขึ้นไป และชมด้วยหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาด 1024x768 มากที่สุด
อาคารศาลาพระเสด็จ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02-222-6701, 02-222-4196 ต่อ 401
Top!